หน้าเว็บ

31 ม.ค. 2554

ความเป็นมา Museum Siam

    

     วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2546 มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ของไทย มีหลายประเภทและสถานที่ตั้งกระจัดกระจายกันอยู่หลายแห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหลายๆหน่วยงานทำให้ไม่รู้จักแพร่หลายเท่าที่ควรสำหรับประชาชน และนักท่องเที่ยวทั่วไป หากสามารถหาสถานที่ที่เหมาะสมแล้วจัดสร้างเป็น พิพิธภัณฑ์แห่งชาติขนาดใหญ่ โดยอาจแยกเป็นอาคารพาณิชย์(hall) ด้านต่างๆให้ครบถ้วนก็จะทำให้เป็นแหล่งความรู้ ศิลปวิทยาการ รวมทั้งแสดงถึงวัฒนธรรมความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย ได้อย่างครบวงจร และเป็นที่น่าสนใจแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ จึงมอบให้รองนายกรัฐมนตรี(นาย จาตุรนต์ ฉายแสง) รับเรื่องนี้ไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
     วันที่7 และ 14 ตุลาคม 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าเรื่องการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รวม และแนวทางเตรียมการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่โดยมีสาระสำคัญของเรื่องดังนี้
     1. เห็นชอบในหลักการและแนวคิดของพิพิธภัณฑ์รวมที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ว่า ควรเป็นพิพิธภัณฑ์ระดับชั้นนำของภูมิภาคที่มีลักษณะเป็นแหล่งรวบรวมความรู้สาขาต่างๆ ในเชิงบูรณาการอย่างกว้างขวาง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับความเป็นไทย และส่วนที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการนำเสนอ ทั้งนี้จะต้องมีการเชื่อมโยงและบรูณาการระหว่างที่มีอยู่แล้วกับพิพิธภัณฑ์ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นใหม่ รวมทั้งการดูแลในระยะยาว
     2. เห็นชอบแนวทางเตรียมการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ประกอบด้วย หลักการ กระบวนการ และการจัดตั้งคณะกรรมการดังนี้
     หลักการพิพิธภัณฑ์ที่จะจัดสร้างขึ้นใหม่นี้ ต้องมีจุดเป้าหมายหลักอยู่ที่การเรียนรู้ เพื่อความงอกงามของสติปัญญา ความคิดริเริ่มและจิตสำนึกของความเป็นไทยที่แตกต่างจากกระบวนการ ทัศน์การจัดพิพิธภัณฑ์ แต่เดิมที่มุ่งเน้นการเก็บรวบรวมวัตถุ การถ่ายทอดความรู้ หรือการเชื่อมโยงกับผู้คนเป็นหลัก อีกทั้งต้องมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัวและทันสมัย กระบวนการในการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเปลี่ยน "ภาพลักษณ์" ของพิพิธภัณฑ์จากเดิมมาเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างสู่พรมแดนแห่งความรู้ในหลายมิติ

Museum Siam

     มิวเซียมสยาม หรือ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร ๗ ตัว เป็นตัวกลาง มิวเซียมสยามดูแลโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
     มิวเซียมสยาม ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้ชมได้เรียนรู้ถึงรากเหง้าของชาวไทย โดยเน้าไปที่กลุ่มชนในเขตบางกอก หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เนื่องจากตัวมิวเซียมสยามนี้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มิได้หมายความว่าถ้าเป็นคนไทยต่างจังหวัด จะไม่สามารถมาเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้ได้ เพราะสิ่งที่จัดแสดงอยู่ในมิวเซียมสยามนี้แสดงถึงความเป็นมาของชนชาติไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ ทำให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจผู้เข้าชมได้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังตั้งอยู่ในสถานที่สวยงาม

ความหมายของตราสัญลักษณ์



      คนกบแดง หรือ รูปคนทำท่าเป็นกบ เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เพราะกบถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบรูณ์เป็นที่เคารพบูชาทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นได้จากลวดลายบนกล่องมโหระทึกที่เป็นเครื่องมือใช้ประโคมตีในพิธีกรรมขอฝน

 พื้นที่จัดแสดง
     อาคารกระทรวงพาณิชย์เดิม ภายในมิวเซียมสยามเป็นอาคาร ๓ ชั้น มีห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร ทั้งหมด ๑๗ ห้อง ภายใต้หัวข้อ "เรียงความประเทศไทย" ให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านสื่อต่างๆได้แก่

29 ม.ค. 2554

ห้องแสดงนิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย"

ห้องที่ ๑: เบิกโรง ที่ตั้ง: ชั้น ๑
     เบิกตัวละครทั้ง ๗ ที่จะพาผู้ชมย้อนกลับไปสู่เรื่องราวอันเป็นต้นกำเนิดจากสุวรรณภูมิสู่สยามประเทศ ถึงประเทศไทยด้วย เพื่อค้นหาคำตอบว่าเราคือใครและอะไรคือไทย

ห้องที่ ๒: ไทยแท้ ที่ตั้ง: ชั้น ๑
     กระตุ้นความอยากรู้ว่าไทยแท้คืออะไรและเป็นอย่างไรจึงเรียกว่าไทยแท้
















ห้องที่ ๓: เปิดตำนานสุวรรณภูมิ ที่ตั้ง: ชั้น ๓
     แสดงถึงวิวัฒนาการสังคมก่อนจะมาเป็นบรรพบุรุษชาวสุวรรณภูมิ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า "สุวรรณภูมิ" คือชื่อที่ชาวโลกเมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปีก่อนใช้เรียกดินแดนแห่งความอุดมสมบรูณ์ทางทิศตะวันออกของอินเดีย










ห้องที่ ๔: สุวรรณภูมิที่ตั้ง: ชั้น ๓
     ทำความรู้จักกับ "สุวรรณภูมิ" ดินแดนแห่งความมั่งคั่งผ่านผู้คน การเกษตร การค้า การสร้างเมือง เทคโนโลยีแห่งโลหะ และความเชื่อ (ผี-พราหมณ์-พุทธ) ซึ่งจะทำให้รู้ว่าสุวรรณภูมิ คือ รากเหง้าของประเทศไทย


























ห้องแสดงนิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย"

ห้องที่ ๕: พุทธิปัญญา ที่ตั้ง: ชั้น ๓
     สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหัวใขของพระพุทธศาสนา ซึ่งมี คาถา เย ธมมา (อ่านว่า เย-ทำ-มา) แปลว่า สิ่งทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด คาถายอดนิยม แห่งสุวรรณภูมิ มูลเหตุแห่งความใจกว้างและสันติ






ห้องที่ ๖: กำเนิดสยามประเทศ ที่ตั้ง: ชั้น ๓
     นำเสนอด้วยเทคนิคที่หลากหลาย เพื่อให้เห็นนานาแว่นแคว้นต่างๆ ที่เริ่มก่อตัวขึ้นเป็นนครรัฐ และสืบสานเรื่องราวของวีนบุรุษผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาจากตำนานท้าวอู่ทอง เรื่องเล่าที่แสดงให้เห็นถึงความผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม




















ห้องที่ ๗: กำเนิดสยามประเทศ ที่ตั้ง: ชั้น ๓
     กรุงศรีอยุธยามีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ทั้งยังมีความอุดมสมบรูณ์ทางธรรมชาติ และด้วยอำนาจทางการเมืองที่กว้างไกล ทำให้สามารถควบคุมการผลิตภายในราชอาณาจักรได้ นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยายังเป็นอาณาจักรที่อยู่ใกล้ทะเล จึงพัฒนาตัวเองขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลของภูมิภาค และสืบเนื่องจากการติดต่อค้าขายนี่เอง ที่ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างผู้คนและวัฒนธรรม เกิดเป็นความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมที่หลากหลายขึ้นในแผ่นดินไม่ว่าจะเป็นการเมือง การทหาร ภาษา และสถาปัตยกรรม



















ห้องแสดงนิทรรศการถาวร "เรียงความประเทศไทย"

ห้องที่ ๘: สยามยุทธ์ ที่ตั้ง: ชั้น ๓
     เหตุแห่งสงครามในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีมูลเหตุใหญ่ๆ คือ ความต้องการแสดงพระองค์ของกษัตริย์ ในฐานะ "พระจักรพรรดิ" เหนือพระเจ้าแผ่นดิน และเพื่อกวาดต้อน "คน" อันเป็นแรงงานและกำลังรบ รวมถึงการครอบครองสินค้าสำคัญของรัฐอื่น สงครามจึงไช่เรื่องของรัฐต่อรัฐ หากเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์รัฐหนึ่งกับพระมหากษัตริย์อีกรัฐหนึ่ง และนอกจากการสู้รบแล้ว ยังมีการแสดงถึงภูมิปัญญา การวางกลยุทธ์ กลุ่มชาติพันธ์ และศิลปกรรมอีกด้วย







ห้องที่ ๙: แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ ที่ตั้ง: ชั้น ๒
     ผืนดินตามธรรมชาติ คงไม่มีเส้นแบ่งใดๆ มาขวางกั้นผู้คน แต่เส้นพรมแดนก็ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ล่าอาณานิคมเพื่อแบ่ง "เขา" สร้าง "เรา" และรวมไปถึงการสร้าง "ชาติ" ให้มีตัวตนขึ้นมาจริงๆ มูลเหตุที่ทำให้เกิดการตัดแบ่งชุมชน เชื้อชาติ ญาติพี่น้องออกจากกัน








ห้องที่ ๑๐: กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา ที่ตั้ง: ชั้น ๒
     เรื่องราวเมื่อครั้งสิ้นสุดกรุงศรีอยุธยา ชาวกรุงศรีฯก็สร้างเมืองของพวกเขาขึ้นมาใหม่บนผืนดิน "บางกอก" ซึ่งพวกเขาได้จำลองแนวคิดและสืบสานวัฒนธรรมมาจากเมืองเก่ามากมาย อีกทั้งเมื่อเริ่มสร้างกรุงให่ จึงได้เกณฑ์ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติมาช่วยกัน จนเมื่อสร้างเสร็จจึงลงหลักปักฐาน กลายเป็นชาวกรุงเทพฯ