หน้าเว็บ

31 ม.ค. 2554

ความเป็นมา Museum Siam

    

     วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2546 มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ของไทย มีหลายประเภทและสถานที่ตั้งกระจัดกระจายกันอยู่หลายแห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหลายๆหน่วยงานทำให้ไม่รู้จักแพร่หลายเท่าที่ควรสำหรับประชาชน และนักท่องเที่ยวทั่วไป หากสามารถหาสถานที่ที่เหมาะสมแล้วจัดสร้างเป็น พิพิธภัณฑ์แห่งชาติขนาดใหญ่ โดยอาจแยกเป็นอาคารพาณิชย์(hall) ด้านต่างๆให้ครบถ้วนก็จะทำให้เป็นแหล่งความรู้ ศิลปวิทยาการ รวมทั้งแสดงถึงวัฒนธรรมความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย ได้อย่างครบวงจร และเป็นที่น่าสนใจแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ จึงมอบให้รองนายกรัฐมนตรี(นาย จาตุรนต์ ฉายแสง) รับเรื่องนี้ไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
     วันที่7 และ 14 ตุลาคม 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าเรื่องการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รวม และแนวทางเตรียมการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่โดยมีสาระสำคัญของเรื่องดังนี้
     1. เห็นชอบในหลักการและแนวคิดของพิพิธภัณฑ์รวมที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ว่า ควรเป็นพิพิธภัณฑ์ระดับชั้นนำของภูมิภาคที่มีลักษณะเป็นแหล่งรวบรวมความรู้สาขาต่างๆ ในเชิงบูรณาการอย่างกว้างขวาง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับความเป็นไทย และส่วนที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการนำเสนอ ทั้งนี้จะต้องมีการเชื่อมโยงและบรูณาการระหว่างที่มีอยู่แล้วกับพิพิธภัณฑ์ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นใหม่ รวมทั้งการดูแลในระยะยาว
     2. เห็นชอบแนวทางเตรียมการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ประกอบด้วย หลักการ กระบวนการ และการจัดตั้งคณะกรรมการดังนี้
     หลักการพิพิธภัณฑ์ที่จะจัดสร้างขึ้นใหม่นี้ ต้องมีจุดเป้าหมายหลักอยู่ที่การเรียนรู้ เพื่อความงอกงามของสติปัญญา ความคิดริเริ่มและจิตสำนึกของความเป็นไทยที่แตกต่างจากกระบวนการ ทัศน์การจัดพิพิธภัณฑ์ แต่เดิมที่มุ่งเน้นการเก็บรวบรวมวัตถุ การถ่ายทอดความรู้ หรือการเชื่อมโยงกับผู้คนเป็นหลัก อีกทั้งต้องมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัวและทันสมัย กระบวนการในการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเปลี่ยน "ภาพลักษณ์" ของพิพิธภัณฑ์จากเดิมมาเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างสู่พรมแดนแห่งความรู้ในหลายมิติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หากใครมีคำถามที่สงสัย หรือมีข้อติชมสามารถบอกกับทางเราได้ที่นี่เลยนะคะ